Perfume Expired.

Perfume Expired 10     “จริงหรือไม่ที่น้ำหอมมีวันหมดอายุ” 20 Dec. 2017     น้ำหอมที่ซื้อมาหมดอายุรึยัง?   นี่คงจะเป็นคำถามโลกแตกอีกอย่างหนึ่งของคนใช้น้ำหอม…..   ในวันนี้ผมจะมาแนะนำเครื่องมือดีๆ ที่เอาไว้ใช้เช็คอายุของน้ำหอม(รวมถึงเครื่องสำอางอื่นๆ ด้วย) และจะมาไขข้อข้องใจเชิงทฤษฏีให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องหมดอายุของน้ำหอมว่าแท้จริงแล้วมันเป็นเยี่ยงไร น้ำหอมหมดอายุได้จริงหรือไม่? รอช้าอยู่ใยไปดูกันครับ!     เครื่องสำอางโดยมากแล้วจะแจ้งวันผลิตและวันหมดอายุไว้อย่างชัดเจน หลายๆ ท่านอาจจะเคยสังเกตเห็นเครื่องหมายข้างกล่องหรือข้างขวดที่เป็นรูปฝาขวดเปิดอ้าและข้างฝามีอักษรเขียนว่า 3M บ้าง 6M บ้าง 12M บ้าง สัญลักษณ์นี้เรียกว่า Period after opening (PAO)   Fig. 1 Period after opening   ความหมายก็คือการบอกถึงระยะเวลาของเครื่องสำอางนั้นๆ หลังเปิดใช้ครั้งแรกว่าอยู่ได้นานเท่าไร ถ้า 3M ก็แสดงว่าเครื่องสำอางชนิดนั้นๆ จะสามารถใช้งานได้ดีหลังเปิดใช้ครั้งแรก 3 เดือน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เกิดจากการคำนวณการเกิดออกซิเดชั่นและการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่อาจมีอยู่ในสภาพแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อเครื่องสำอางครับผม  …

Olfactory Fatigue

Olfactory Fatigue 09   “ภาวะจมูกล้า” 20 Dec. 2017     ทำไมผมถึงไม่ได้กลิ่นอะไรเลย???   วันนี้เรามารู้จักภาวะคู่กายของคนทำน้ำหอมที่เป็นเหมือนของคู่บารมีกันดีกว่า ภาวะจมูกล้า ( Olfactory fatigue) เป็นอาการที่ประสาทสัมผัสการดมกลิ่นไม่สามารถรับกลิ่นอะไรได้ เกิดจากการที่ประสาทสัมผัสการดมกลิ่นถูกใช้งานอย่างหนักต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งประสาทรับกลิ่นจะรู้สึกสับสนและไม่สามารถแยกกลิ่นอะไรได้เลย โดยอาการขั้นแรกกลิ่นประเภท Top note จะหายไปก่อน จนสุดท้ายเราจะรับได้เพียงกลิ่นหนักๆ ในสภาวะที่อ่อนเบาสุดๆ หรือแทบไม่ได้กลิ่นเลย   โดยปรกติคนทุกคนจะมีความสามารถในการรับกลิ่นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 15 นาที สำหรับคนที่อยู่ในภาวะแวดล้อมที่ต้องดมกลิ่นอยู่ตลอด ประสาทการดมกลิ่นอาจจะพัฒนาขึ้นทำให้สามารถดมกลิ่นได้นานถึง 30 นาที   ดังนั้นการทำงานของนักปรุงน้ำหอมจึงไม่สามารถทำงานต่อเนื่องได้ จะต้องพักทุกๆ 20 นาที โดยประมาณเพื่อไม่ให้เกิดอาการจมูกล้า ระหว่างนั้นจะอ่านหนังสือ วางแผนหรือเล่นดนตรีประคองอารมณ์อะไรก็ว่าไปครับ   ความเข้าใจผิดที่ว่าการดมเมล็ดกาแฟสามารถช่วยอาการจมูกล้าให้หายได้ อันนี้ไม่มีผลวิจัยใดๆ รองรับนะครับ เป็นเพียงแค่การนึกไปเองมีการทดลองเปรียบเทียบมากมายลองหาอ่านดูนะครับ   ส่วนตัวผมจะให้ข้อสังเกตง่ายๆ ว่า เราเปรียบประสาทรับกลิ่นเหมือนคนคนหนึ่ง เมื่อเขาเริ่มทำงานเขาก็ค่อยๆ สะสมความเหนื่อยล้าทีละเล็กละน้อย พอถึงจุดหนึ่งเขาเหนื่อยเขาก็ทำงานต่อไม่ไหว…