Folk Wisdom

Folk Wisdom   12 “สารหอมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” 28 Dec. 2017 กลับมาเรื่องงานสกัดสารหอมกันบ้างดีกว่าครับ หลังจากเข้ากรุงเข้าห้างก็เปลี่ยนบรรยากาศกลับมาเข้าหาชาวบ้านเพื่อไม่ให้ดูว่าเป็นคนติดหรูดูแพงจนเกินไป พอดีมีพี่ๆ ในกลุ่มธุรกิจภาคเหนือส่งข่าวมาบอกว่ามีพี่ชาวบ้านท่านนึงตั้งใจสกัดสารหอมอย่างเอาจริงเอาจังฟังดูน่าสนใจก็เลยตัดสินใจขับรถตะลอนๆ ไปดูครับ   พี่ท่านนี้ชื่อพี่มิวครับเป็นชาวไร่ชาวสวนอยู่ใน จ.เชียงราย กว่าจะหาบ้านพี่มิวเจอก็ขับมุดวนในหมู่บ้านถามร้านขายของชำ ถามเด็กแถวนั้น ถามพระ ถามยาย ถามๆ ไปจนได้เบาะแสสุดท้ายว่าหน้าบ้านพี่มิวจะปลูกดอกดาวเรืองเยอะมาก “ไอ้หนุ่มเอ้ยไม่ต้องคิดมาก เอ็งขับๆ ไปบ้านไหนหน้าบ้านเหลืองกว่าเพื่อนก็นั่นแหละ” ถือเป็นการไกด์ทางที่ Simple is the best มากครับเพราะหน้าบ้านพี่มิวนี่โดดเด่นเป็นสง่าแยงตามาตั้งแต่สองร้อยเมตรที่เลี้ยวเข้าซอย มั่นใจว่าไม่ผิดก็ถือวิสาสะขับรถเข้าไปจอด พอพบกับกองต้นตะไคร้หอมกับหม้อกลั่นแรงดันขนาดใหญ่ก็ยิ่งมันใจครับว่าไม่ได้มาผิด Fig. 1 พี่มิวกับผลงานสารหอม เราคุยกันหลายเรื่องแต่เอาเป็นว่าผมตัดประเด็นไปละกันเพื่อไม่ให้ยืดยาว ปัญหาที่พบก็ยังคงเป็นเรื่องเดิมๆ การสกัดสารหอมในล๊อตขนาดเล็กยังมีต้นทุนที่สูง สารหอมของพี่มิวมีราคาสูงกว่าราคาตลาดก็จริงอยู่ นี่ถึงขนาดว่าพี่มิวลงทุนปลูกเองไม่ได้รับซื้อใดๆ จากใครแล้ว หนทางที่ทำให้พี่มิวยังมีรายได้จากการสกัดสารหอมคือเลือกสกัดเฉพาะสารหอมที่ไม่มีขายทั่วไปในตลาด(แต่ก็แพงจังเลย) อย่างพวกพืชตระกูลว่าน, ไพล, และสมุนไพรไทยเป็นหลัก เหตุผลก็เพราะว่าพวกนี้สกัดง่ายกว่าดอกไม้และยังมีตลาดสปากับยาดม, ยาอม, ยาหม่องรองรับ มาดูในมุมของน้ำหอม ก็จริงอยู่ว่ากลิ่นแต่ละตัวนั้นน่าสนใจ แต่หลักๆ เลยคาแรกเตอร์กลิ่นของพืชพรรณไทยเรากลิ่นค่อนข้างแรงถึงแรงมาก ก็ยังขบคิดอยู่ว่าการจะทำให้มันลงตัวกลมกล่อมนั้นจริงๆ แล้วควรนำมาร่วมกันอะไรประมาณไหน…